สตส.ลำพูนเข้าร่วมติดตามการลงพื้นที่ตรวจราชการ ของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.กษ. โครงการต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง

สตส.ลำพูนเข้าร่วมติดตามการลงพื้นที่ตรวจราชการ ของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.กษ. โครงการต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
---------------------------
วันที่ 23 มีนาคม 2565 นางสาวบานเย็น หล้าป้อม หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำพูน เข้าร่วมติดตามการลงพื้นที่ตรวจราชการ ของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.กษ. \"โครงการต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” ลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดโครงการต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำบัญชีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมผลิตผลทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน บัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง และบัญชีรายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วยนางพิศมัย อรรถธรรมสุนทร ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 นางสาวบานเย็น หล้าป้อม  หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำพูน และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบอุปกรณ์เครื่องเขียนและกีฬาให้แก่นักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอาโอยาม่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ และโรงเรียนบ้านกองแหะ พร้อมทั้งเยี่ยมชมโครงการการจัดทำบัญชีกิจกรรมบัญชีสหกรณ์นักเรียน และนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับโครงการ \"ต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” จัดทำโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้วิธีการจดบันทึกบัญชีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมผลิตผลทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของสหกรณ์ ทำให้นักเรียนรู้จักการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง รู้จักการวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง การจัดการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง รู้จักฝึกการพึ่งพาตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์สุจริต สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยมีผู้เข้ารับการอบรมกิจกรรมหลักสูตร \"การจัดทำบัญชีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน กิจกรรมผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน บัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง บัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน” เป็นครูและนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 6 คน แบ่งเป็นครูและนักเรียน จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 1 คน และผู้เข้ารับการอบรมกิจกรรมหลักสูตร \"การจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ” เป็นครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน และเกษตรกรในโครงการเกษตรวิชญา จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีโรงเรียนในความรับผิดชอบ จำนวน 447 โรงเรียน อยู่ในความรับผิดชอบและการกำกับแนะนำของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงใหม่ จำนวน 28 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 16 โรงเรียน และโรงเรียนในความดูแลของสำนักเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) จำนวน 12 โรงเรียน การดำเนินงานของโครงการ\"ต้นกล้าความดี สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง” เริ่มต้นจากโครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน และสานต่อด้วยโครงการผลิตผเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้ \"เด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา” โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Development) ในการพัฒนาคน พัฒนาการเกษตร สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic Development) เชื่อมโยงทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ให้เยาวชนเป็นผู้ส่งต่อความรู้ทางบัญชีให้กับครอบครัว เครือญาติ และขยายผลสู่ชุมชน โดยบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมสนองงานตามพระราชดำริทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในโครงการเกษตรวิชญา ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดทำบัญชีแก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มุ่งเน้นให้มีการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ และนำข้อมูลจากการบันทึกบัญชีมาปรับใช้ในการวางแผนในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม มีเหตุ มีผล สร้างวินัยทางการเงินและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพัฒนาตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถปรับตัวได้สอดคล้องกับสถานการณ์อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำให้รู้จักการใช้บัญชีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการในโรงเรียนบ้านกองแหะ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 17 คน

« Back