ข่าวประชาสัมพันธ์
การพัฒนา EVA สู่ SEVA : มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและสังคม-สู่ความยั่งยืนของสหกรณ์

วันที่ 23 ก.พ. 2552
 
 

ทบทวนความจำ – สร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตรด้วย EVA ตอนที่ 1และ2 

           มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ หรือ Economic Value Added: EVA
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน
ของธุรกิจในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยคำนวณได้จากการนำต้นทุนเงินทุนที่ใช้ไป (Capital Charge) หรือต้นทุนค่าเสีย
โอกาสของเงินทุนที่ถูกนำมาใช้ในกิจการ มาหักออกจากกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT) ที่ได้มีการ
ดึงเอารายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนดำเนินงานปกติออกจากกำไรสุทธิ และเมื่อองค์กรสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
(EVA > 0) หรือสร้างรายได้เหนือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด แสดงว่าองค์กรมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
และทำให้คาดหวังการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

           วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจของสหกรณ์ภาคการเกษตร ปี 2548 – 2550: มูลค่าเพิ่มเชิง เศรษฐกิจในปี 2549 และปี 2550 ที่ปรับตัวดีขึ้นมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของเงินทุนที่ใช้ไปในอัตราเร่งมากกว่า การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ภาคการเกษตรเอง ทำให้เกิดประเด็นคำถามว่าแหล่งสำคัญของเงินทุนที่ใช้ไปควรมาจากหนี้สินหรือจากทุนของสหกรณ์ ? อีกทั้งการขับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจของ สหกรณ์ด้วยการขยายตัวของเงินทุนที่ใช้ไปอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน (Sustainability) ในระยะยาวหรือไม่ ?

พัฒนา EVA สู่ SEVA
           จากแนวความคิดในการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าสูงสุดให้แก่องค์กร
ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างความอยู่รอดขององค์กรในระยะยาว  กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยทีมงานส่วนวิจัยและ
พัฒนาสารสนเทศทางการเงิน ได้ทำการศึกษาเรื่อง
  ‘มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA)’  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการ
บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสหกรณ์ และด้วยสหกรณ์เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยสมาชิกซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholders) ของสหกรณ์ ทำให้การบริหารจัดการในบางครั้งอาจสร้างปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของเหล่าสมาชิก ทีมงานส่วนวิจัยฯ จึงได้ริเริ่มนำมุมมองทางสังคมของสหกรณ์เข้าไปปรับใช้ร่วมกับ EVA และสร้าง
เป็น
'มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและสังคม (SEVA)’  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการของสหกรณ์
โดยมุ่งหวังให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาวขององค์กรสหกรณ

           
สหกรณ์เป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยสมาชิกที่สามารถมีบทบาทเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้
หลายบทบาทในเวลาเดียวกัน ทำให้การบริหารจัดการสหกรณ์ในบางครั้ง อาจสร้างความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Conflicts of Economic Interests) ของเหล่าสมาชิก เช่น สมาชิกในฐานะที่เป็นผู้ขายผลผลิตให้สหกรณ์ ย่อมต้องการให้สหกรณ์รับซื้อผลผลิตในราคาสูง แรงจูงใจดังกล่าวส่งผลด้านลบต่อกำไรของสหกรณ์ และขัดแย้งกับความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ในฐานะผู้ถือหุ้น ที่ย่อมต้องการให้สหกรณ์สร้างผลกำไร และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิก ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าวฉุดรั้งแรงจูงใจของสมาชิกในการ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่สหกรณ์ ดังนั้น มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือ Social and Economic Value Added: SEVA จึงเป็น
การนำแนวคิดของ EVA มาประยุกต์ใช้กับสหกรณ์และปรับเพิ่มมุมมองทางสังคมของ สหกรณ์ โดยนำมาใช้ในการ
วางแนวปฏิบัติในเรื่องที่มาและการจัดสรรผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งงบประมาณ เพื่อการลงทุนทางสังคม
ให้กับสมาชิก ให้เป็นไปอย่างยุติธรรม เพื่อลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ดังแสดงในรูปที่ 1

SEVA วัฎจักรแห่งการสร้างความยั่งยืน : สหกรณ์จะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อเมื่อสหกรณ์สามารถ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมที่แวดล้อมสหกรณ์นั้นๆ โดยมูลค่าเพิ่มนี้จะถูกขับเคลื่อนโดย
ตัวขับเคลื่อนมูลค่าทางการเงิน (Financial Value Drivers) ตัวขับเคลื่อนมูลค่าทางการดำเนินงาน (Operational
Value Drivers) และตัวขับเคลื่อนมูลค่าทางสังคม (Social Value Drivers) โดยตัวขับเคลื่อนมูลค่า (Value Drivers)
เหล่านี้ จะเป็นแนวทางการปฎิบัติ (Best Practice) ในการบริหารจัดการสหกรณ์ อันนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่
สหกรณ์

 

 
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำพูน
เลขที่ 164  หมู่ 2  ถนนลำพูน - ดอยศรีวิชัย   ตำบลเวียงยอง   อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  รหัสไปรษณีย์  51000
 โทรศัพท์  :  (053) 537610, (053) 537611 โทรสาร  :  (053) 537612  e-Mail  : [email protected] , Hotline  : 27989